การยุติการตั้งครรภ์: มุมมองทางกฎหมายและสิทธิมนุษยชน

ในสังคมไทย การคุมกำเนิดประชากรมีจุดเริ่มต้นในช่วงปี พ.ศ. 2480 – 2487 ระหว่างที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในช่วงเวลานั้นรัฐบาลส่งเสริมให้ประชาชนมีบุตรคู่ขนานกับเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการทำหมันและการคุมกำเนิดภายในโรงเรียนแพทย์ไปด้วย เมื่อความรู้ดังกล่าวส่งต่อผ่านร้านขายยาและเภสัชภัณฑ์ต่าง ๆ ไปยังชนชั้นกลางรายได้น้อยและแรงงานในกรุงเทพมหานคร ประกอบกับประเทศไทยมีบทบาทผลิตสินค้าเพื่อส่งออกยังต่างประเทศมากขึ้นในระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ความจำเป็นของการมีจำนวนประชากรสมดุลกับตำแหน่งงานในตลาดจึงทวีความสำคัญขึ้น ด้วยเหตุนี้การคุมกำเนิดจึงกลายเป็นส่วนสำคัญของนโยบายวางแผนครอบครัวในปี พ.ศ. 2504 และของนโยบายวางแผนครอบครัวแห่งชาติในปี พ.ศ. 2513 เป็นต้นมา

การคุมกำเนิดนั้นหากกล่าวอย่างเรียบง่ายคือการป้องกันการตั้งครรภ์ ซึ่งวิธีการคุมกำเนิดที่ใช้ทั่วไปนั้นอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวและแบบถาวร การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวเป็นการป้องกันไม่ให้อสุจิของเพศชายผสมกับไข่ของเพศหญิงหรือป้องกันไม่ให้ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วฝังตัวในโพรงมดลูก ใช้วิธีสวมถุงยางอนามัยหรือห่วงคุมกำเนิด หรือรับยาคุมกำเนิดเข้าไปในร่างกายผ่านการฝัง ฉีด หรือรับประทาน สำหรับการคุมกำเนิดแบบถาวรนั้น ในเพศหญิงได้แก่การผ่าตัดท่อนำไข่ทั้งสองให้แยกขาดจากกัน ในขณะที่ในเพศชายได้แก่การผูกท่อนำอสุจิเพื่อมิให้อสุจิที่ผลิตภายในร่างกายไหลออกมาในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ด้วยเหตุที่การคุมกำเนิดแบบถาวรต้องทำโดยแพทย์และมีค่าใช้จ่ายมากกว่าการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว บุคคลทั่วไปจึงนิยมการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวมากกว่าจากความเข้าถึงง่าย ค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมาก ตลอดจนความสะดวกในการทำได้ด้วยตนเองในที่พัก

แม้การคุมกำเนิดอาจสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ในอัตราที่น่าพึงพอใจ แต่เมื่อเวลาผ่านไปสังคมก็เริ่ม ตั้งข้อสังเกตว่า การคุมกำเนิดมีผลกระทบทางสุขภาพมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุขภาพของหญิงผู้ตั้งครรภ์ กล่าวคือ ยาคุมกำเนิดอาจก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก น้ำหนักขึ้น ประจำเดือนมาไม่ปกติ และความผิดปกติอื่น ๆ ในขณะเดียวกันอุปกรณ์คุมกำเนิดเช่นถุงยางอนามัยและห่วงคุมกำเนิดก็อาจเข้าถึงได้ยากสำหรับกลุ่มเปราะบางหรือกลุ่มผู้มีความต้องการพิเศษอื่น ๆ และผู้เข้าถึงอุปกรณ์ดังกล่าวได้ก็ยังต้องเผชิญหน้ากับการตีตราจากสังคมภายนอกจน ไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์การคุมกำเนิดได้ตามความต้องการของตน ยิ่งไปกว่านั้น การคุมกำเนิดยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์โดยขาดความพร้อมทางการเงิน สภาพจิตใจ ตลอดจนวิถีชีวิตของหญิงผู้ตั้งครรภ์ ด้วยเหตุนี้การยุติ การตั้งครรภ์หรือการยุติการตั้งครรภ์จึงเกิดขึ้นในฐานะทางเลือกอีกประการหนึ่งของหญิงผู้ตั้งครรภ์ที่มีข้อจำกัดในการเลี้ยงดูบุตร ที่หากบุคคลดังกล่าวเลือกทางเลือกนี้ย่อมหมายความว่า เธอไม่จำเป็นต้องแบกรับภาระการเลี้ยงดูทารก การให้การศึกษา และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านอื่น ๆ อีกแต่อย่างใด

แม้การคุมกำเนิดอาจสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ในอัตราที่น่าพึงพอใจ แต่เมื่อเวลาผ่านไปสังคมก็เริ่ม ตั้งข้อสังเกตว่า การคุมกำเนิดมีผลกระทบทางสุขภาพมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุขภาพของหญิงผู้ตั้งครรภ์ กล่าวคือ ยาคุมกำเนิดอาจก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก น้ำหนักขึ้น ประจำเดือนมาไม่ปกติ และความผิดปกติอื่น ๆ ในขณะเดียวกันอุปกรณ์คุมกำเนิดเช่นถุงยางอนามัยและห่วงคุมกำเนิดก็อาจเข้าถึงได้ยากสำหรับกลุ่มเปราะบางหรือกลุ่มผู้มีความต้องการพิเศษอื่น ๆ และผู้เข้าถึงอุปกรณ์ดังกล่าวได้ก็ยังต้องเผชิญหน้ากับการตีตราจากสังคมภายนอกจน ไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์การคุมกำเนิดได้ตามความต้องการของตน ยิ่งไปกว่านั้น การคุมกำเนิดยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์โดยขาดความพร้อมทางการเงิน สภาพจิตใจ ตลอดจนวิถีชีวิตของหญิงผู้ตั้งครรภ์ ด้วยเหตุนี้การยุติ การตั้งครรภ์หรือการยุติการตั้งครรภ์จึงเกิดขึ้นในฐานะทางเลือกอีกประการหนึ่งของหญิงผู้ตั้งครรภ์ที่มีข้อจำกัดในการเลี้ยงดูบุตร ที่หากบุคคลดังกล่าวเลือกทางเลือกนี้ย่อมหมายความว่า เธอไม่จำเป็นต้องแบกรับภาระการเลี้ยงดูทารก การให้การศึกษา และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านอื่น ๆ อีกแต่อย่างใด

สำหรับประเทศไทย การยุติการตั้งครรภ์เคยจัดเป็นความผิดทางอาญาไม่ว่าในขณะลงมือยุติการตั้งครรภ์จะมีอายุครรภ์เท่าไร ยกเว้นเป็นกรณีผู้ตั้งครรภ์มีปัญหาสุขภาพหรือครรภ์เกิดจากการล่วงละเมิดทางเพศ แต่ปัจจุบันในครรภ์มีอายุไม่เกิน 12 สัปดาห์ การยุติการตั้งครรภ์ไม่เป็นความผิดทางกฎหมายอีกต่อไป และหากเป็นครรภ์อายุเกิน 12 สัปดาห์ก็สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ในกรณีทารกมีความเสี่ยงต่อสภาวะทุพพลภาพร้ายแรง กรณีผู้ตั้งครรภ์มีปัญหาสุขภาพ กรณีครรภ์เกิดจากการล่วงละเมิดทางเพศ หรือในกรณีครรภ์อายุเกิน 12 แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์และผู้ตั้งครรภ์ยืนยันความประสงค์ยุติการตั้งครรภ์ภายหลังตรวจและรับคำปรึกษาทางการแพทย์แล้ว

เพื่อให้เห็นภาพพัฒนาการทางกฎหมายด้านสิทธิในการยุติการตั้งครรภ์ชัดเจนขึ้น สามารถพิจารณาจากบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 และ 305 ดังนี้ อดีตมาตรา 301 “หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” มาตรา 301 ยุคปัจจุบัน “หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกขณะมีอายุครรภ์เกินสิบสองสัปดาห์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” อดีตมาตรา 305 “ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรา 301 และมาตรา 302 นั้น เป็นการกระทำของนายแพทย์ และ (1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น หรือ (2) หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 282 มาตรา 283 หรือมาตรา 284 ผู้กระทำไม่มีความผิด” มาตรา 305 ยุคปัจจุบัน “ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 301 หรือมาตรา 302 เป็นการกระทำของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้กระทำไม่มีความผิด (1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากหากหญิงตั้งครรภ์ต่อไปจะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายต่อสุขภาพทางกายหรือจิตใจของหญิงนั้น (2) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากมีความเสี่ยงอย่างมากหรือมีเหตุผลทางการแพทย์อันควรเชื่อได้ว่าหากทารกคลอดออกมาจะมีความผิดปกติถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง (3) หญิงยืนยันต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าตนมีครรภ์เนื่องจากมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ (4) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์ไม่เกินสิบสองสัปดาห์ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ (5) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกินสิบสองสัปดาห์ แต่ไม่เกินยี่สิบสัปดาห์ ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ภายหลังการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของแพทยสภาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น”

ตามแนวคิดสิทธิมนุษยชนสากลที่มุ่งสนับสนุนเสรีภาพในเนื้อตัวร่างกายของบุคคล การยุติการตั้งครรภ์เป็นสิ่งหนึ่งที่ยืนยันว่า หญิงผู้ตั้งครรภ์มีสิทธิในการเป็นเจ้าของชีวิตตนเอง มีสุขภาพที่ดี และไม่ถูกเลือกปฏิบัติ การที่สังคมไทยในอดีตกำหนดให้การยุติการตั้งครรภ์เป็นความผิดทางอาญาที่มีโทษถึงจำคุกนั้นสะท้อนการกีดกันไม่ให้หญิงผู้ตั้งครรภ์ได้รับการผดุงครรภ์อย่างถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพราะเป็นการผลักใสให้พวกเธอต้องหันไปพึ่งพาการยุติการตั้งครรภ์นอกกฎหมาย ที่บ่อยครั้งผู้ทำการยุติการตั้งครรภ์ไม่ได้เป็นแพทย์ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการยุติการตั้งครรภ์ ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้รับการยุติการตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก และซ้ำร้ายเมื่อเกิดกรณีเช่นนั้นขึ้น ผู้รับการยุติการตั้งครรภ์หลายคนไม่กล้าเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องเพราะต้องการปกปิดการยุติการตั้งครรภ์ที่ตนผ่านมาอันเนื่องมาจากความไม่ต้องการถูกดำเนินคดีด้วยเหตุนี้การกำหนดให้การยุติการตั้งครรภ์เป็นความผิดในอดีตจึงเป็นการไม่รับรองสิทธิความเป็นเจ้าของชีวิตตนเองของปัจเจกบุคคล ทั้งยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้ผู้รับการยุติการตั้งครรภ์ที่ถูกดำเนินคดีถูกเลือกปฏิบัติจากมุมมองส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม เหล่านี้ล้วนจุดประกายการเรียกร้องสิทธิในการยุติการตั้งครรภ์จนกระทั่งเกิดการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 และ 305 ข้างต้นเพื่อรับรองการยุติการตั้งครรภ์กรณีที่หลากหลายขึ้นในสังคมไทย

อย่างไรก็ตาม แม้การยุติการตั้งครรภ์จะได้รับการยอมรับในทางกฎหมายเพิ่มมากขึ้น แต่ประเทศไทยก็ยังไม่อาจจัดเป็นประเทศที่ยอมรับการยุติการตั้งครรภ์โดยสมบูรณ์อันเป็นอุดมคติของแนวคิดสิทธิมนุษยชนได้ ในการบรรลุถึงอุดมคติดังกล่าวจำเป็นต้องมีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาให้การยุติการตั้งครรภ์ไม่ว่ากรณีใด ๆ ไม่เป็นความผิด อีกต่อไป ควบคู่กับการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง รอบด้านเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ให้แก่สังคมเพื่อสร้าง ความตระหนักรู้ในระดับวิถีชีวิต เมื่อเป็นเช่นนี้การยุติการตั้งครรภ์ก็จะได้รับการยอมรับอย่างแท้จริงในฐานะสิทธิหนึ่งที่ไม่อาจก้าวล่วงได้ นำไปสู่การสิ้นสุดการยุติการตั้งครรภ์นอกกฎหมายและไม่มีบุคคลใดต้องถูกเลือกปฏิบัติจากการใช้สิทธิส่วนบุคคลด้านอนามัยเจริญพันธุ์ อีกต่อไป